Search
Close this search box.

ประวัติ ธนินท์ เจียรวนนท์

ประวัติ ธนินท์ เจียรวนนท์ แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) คนรวยที่สุดในโลก การขึ้นเป็นที่หนึ่งนั้นยากแล้วแต่การรักษาสถิติการเป็นที่หนึ่งติดต่อกันนั้นยากกว่า ซึ่งก็เหมือนกับการเป็น มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของประเทศไทยได้ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี ติดต่อกัน อย่างคุณ ธนินท์ เจียรวนนท์ หรือที่เรียกกันติดปากว่าว่า เจ้าสัวธนินท์ หรือ เจ้าสัว ซี.พี. นั้นเองที่มีคู่แข่งที่พยายามแซงหน้า และต้องการชิงตำแหน่งที่หนึ่งของเจ้าสั่ว ซีพีนั้นเอง

ซึ่งในวันนี้ผมจะมาพูดถึงชีวิตของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นมหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของประเทศไทยได้ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี ติดต่อกัน ซึ่งในปี 2556 นี้คุณ ธนินท์ เจียรวนนท์ มีมูลค่าทรัพย์สินรวม 3.93 แสนล้านบาท (เอง) เพิ่มขึ้น 1.12 ล้านบาท จากการปี 2555 มหาเศรษฐีไทย

ชื่อ นามสกุล: นายธนินท์ เจียรวนนท์

ธนินท์ เจียรวนนท์ ตำแหน่งปัจจุบัน: ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ อดีตประธานกรรมการ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร และมหาเศรษฐีอันดับที่ 1 ของประเทศไทยจากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส โดยข้อมูลพฤษภาคม ปี 2021 มีทรัพย์สิน 5.14 แสนล้านบาท ติดอันดับ 81 ของโลก คนรวยที่สุดในโลก

การศึกษาชั้นประถมที่โรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี จนจบการศึกษาในปี พ.ศ. 2492 และได้ไปศึกษาชั้นมัธยมจนจบในปี พ.ศ. 2494 จากโรงเรียนซัวเถา ประเทศจีน และอุดมศึกษาในปี พ.ศ. 2499 จากสถาบันศึกษาฮ่องกงวิทยาลัย รวมทั้งผ่านการศึกษาอบรมจากวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร หลักสูตรภาครัฐร่วมเอกชน รุ่นที่ 1 ปี พ.ศ. 2532

ลงมือทำตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

เมื่อรอบรู้โลกกว้างและเทคโนโลยีล่าสุด เขากลับมาช่วยธุรกิจที่บ้านในวัย 25 ปี ซึ่งทักษะการอ่านเกมธุรกิจที่ธนินท์มีอย่างโดดเด่นมาแต่ไหนแต่ไรคือ การคิดแบบ ‘ต้นน้ำ-ปลายน้ำ’ ธุรกิจจะแข็งแกร่งได้ต้องครบวงจรนั่นเอง

การคิดแบบครบวงจรในสเกลยิ่งใหญ่นี้เองที่ทำให้จนถึงปัจจุบัน เขาขยายแสนยานุภาพทางธุรกิจไปกว่า 14 กลุ่มธุรกิจย่อยในกว่า 21 ประเทศทั่วโลก ครอบคลุมทั้งเกษตรกรรม ค้าปลีก การสื่อสาร ยานยนต์ อสังหาริมทรัพย์ และอื่นๆ อีกมากมาย

ธุรกิจแรกที่ทำเกี่ยวข้องกับ ‘ไก่’ ต้องเข้าใจก่อนว่า สมัยก่อนเนื้อไก่ยังเป็นของกินราคาแพง ธนินท์คิดหาวิธีออกแบบห่วงโซาการผลิตที่ลดต้นทุนได้มหาศาลจนทำให้ไก่เป็นของกินมวลชนได้สำเร็จ โดยเขาวาดวิสัยทัศน์ว่าในระยะยาว องค์กรต้องทำแบบครบวงจร มหาเศรษฐีไทย

ไล่ตั้งแต่ผลิตอาหารสัตว์ที่ตนมีธุรกิจครอบครัวที่บ้านอยู่แล้ว คัดเลือกพันธุ์สัตว์ที่โตไวเป็นโรคยาก ด้วยการบุกเบิกใช้ไก่สายพันธุ์ อาร์เบอร์ เอเคอร์ส (Arbor Acres) เเละเริ่มใช้เทคโนโลยีการเลี้ยงไก่เนื้อในโรงเรือนเป็นครั้งเเรกในประเทศไทย

ทั้งสายพันธุ์ไก่และเทคโนโลยีโรงเรือนมาจากบริษัท Arbor Acres จากสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีเทคโนโลยีดีที่สุดในขณะนั้น นอกจากนี้ ดูเรื่องระบบการเลี้ยงสัตว์ให้มีมาตรฐานแบบอุตสากรรม จนไปถึงการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่ม การตลาดสร้างแบรนด์ การกระจายสินค้าจนถึงมือผู้บริโภคในที่สุด

ในเชิงธุรกิจการที่บริษัทหนึ่งทำแบบครบวงจรเป็นการตัดพ่อค้าคนกลางและช่วยควบคุมต้นทุนไม่ได้สูงไปในตัว ประเด็นนี้ถกเถียงกันได้เพราะอาจนำไปสู่การผูกขาดทางธุรกิจหรือทุนนิยมที่แข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม แต่ในอีกมุมนึง ก็เป็นการคิดวิเคราะห์รอบด้านในระดับอุตสาหกรรม (Industry analysis) ที่เห็นถึงความเชื่อมโยงของซัพพลายเชนที่ซับซ้อน

เห็นในสิ่งที่คนอื่นมองข้าม

ถ้าย้อนกลับไปมองในยุคสมัยก่อน ธนินท์มีความเด็ดเดี่ยวและวิสัยทัศน์ในการลงมือทำสิ่งที่สุ่มเสี่ยง เพราะหลายอย่างเป็นของใหม่ ยังไม่มีบทเรียนให้เดินรอยตาม ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ‘ร้านสะดวกซื้อเซเว่นอีเลฟเว่น’ (7-Eleven)

ธนินท์ไปโน้มน้าวใจเจ้าของ 7-Eleven เพื่อขอสิทธิ์มาเปิดและบริหารเองในเมืองไทย เซเว่นอีเลฟเว่นแห่งแรกในไทยเปิดตัวตั้งแต่ปี 2532 ภายใต้การบริหารของ บริษัท ซีพี ออล จำกัด(มหาชน) (เดิมคือ ซีพี เซเว่น-อีเลฟเว่น) เปิดสาขาแรกที่ย่านพัฒนพงษ์ ในคอนเซปต์ ‘ใกล้ แต่ไม่เคยปิด’ มหาเศรษฐีไทย

เหตุผลที่เลือกสาขาแรกที่นี้ เพราะเป็นทำเลตอบโจทย์ของการเปิด 24 ชั่วโมง โดยกลางวันมีกลุ่มคนออฟฟิส , โรงพยาบาล , โรงเรียน ฯลฯ ขณะที่กลางคืน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวของนักคนต่างชาติที่ส่วนใหญ่รู้จักและคุ้นเคยกับร้าน 7-Eleven อยู่แล้ว

การลงทุนครั้งนี้ของเขา ถือเป็นการวางรากฐานในระยะยาวมาก เพราะสมัยก่อนสาขายังน้อยไม่ครอบคลุม สินค้าในร้านก็ยังไม่หลากหลายพอ แถมสมัยก่อนคนยังซื้อจากร้านขายของชำและมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเจ้าของโดยตรง เป็นอีกความท้าทายในการเปลี่ยนพฤติกรรมผู้คน

7-Eleven ต้องใช้เวลานับทศวรรษกว่าจะเปลี่ยนพฤติกรรมคนได้สำเร็จและกลายเป็นปัจจัยสี่ในชีวิตประจำวันของพวกเราไปแล้วในปัจจุบันเรื่องนี้ยังสอดคล้องกับการคิดแบบครบวงจร เพราะเมื่อมีหน้าร้านที่พบเจอผู้บริโภคโดยตรง ก็สามารถเสิร์ฟผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ ในบริษัทได้ และในยุคปัจจุบันบริษัทยังได้ ‘ข้อมูล’ จากพฤติกรรมการซื้อของลูกค้าเช่นกันอย่างที่เราพอจะสังเกตได้แล้ว เริ่มมี 7-Eleven สาขาใหม่ๆ ที่ซื้อที่ดินหน้าร้านพร้อม ‘ที่จอดรถ’ ขนาดใหญ่ คาดว่าเตรียมตัวรองรับการทำเป็น ‘สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า’ นั่นเองซึ่งจะมาดิสรัปธุรกิจปั๊มน้ำมันต่อไป คนรวยที่สุดในโลก

 

สากลนิยมก้าวสู่ตลาดโลก

ธนินท์ไม่ได้จำกัดว่าตัวเองเป็นคนไทย รากเหง้าจีน ทำธุรกิจแค่ในตลาดไทยหรือในภูมิภาค แต่มองในระดับ ‘โลก’ มานานแล้ว ตลาดอยู่ทั่วโลก วัตถุดิบอยู่ทั่วโลก คนเก่งอยู่ทั่วโลก

ตั้งแต่ไหนแต่ไร เขาเป็นคนแรกๆ ที่นำเข้าเทคโนโลยีการเกษตรชั้นสูงมาจากสหรัฐอเมริกา เครือ CP เองก็ดำเนินธุรกิจอยู่ทั่วโลก ในปี 2522 เป็นบริษัทต่างชาติเจ้าแรกที่เข้าไปทำธุรกิจในจีนในวันที่พึ่งเปิดประเทศ (หลักฐานคือใบอนุญาตประกอบธุรกิจหมายเลข 0001) และบริษัทยังโอบกอดคนเก่งจากทั่วโลกที่พร้อมมาทำงานในเครือ คนรวยที่สุดในโลก

ปริญญากิตติมศักดิ์

  • ปี 2529 ปริญญาเทคโนโลยีการเกษตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ เชียงใหม่
  • ปี 2531 ปริญญาพาณิชยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปี 2533 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปี 2534 ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ปี 2534 ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการตลาด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ประเทศจีน
  • ปี 2538 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • ปี 2538 ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการเกษตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • 21 กรกฎาคม 2543 ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • 18 กุมภาพันธ์ 2547 ปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเทคโนโลยีการเกษตร จากสถาบันราชภัฏจันทรเกษม
  • 2551 ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (บริหารธุรกิจ) จากมหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • 22 ตุลาคม 2551 ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง… อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่

ประวัติการทำงาน :

• กรรมการธนาคารกรุงศรีอยุธยา
• อุปนายกกรรมการทุนธนชาต
• กรรมการทุนธนชาต
• กรรมการไทยออยล์ มหาเศรษฐีไทย
• อนุกรรมการบริหารอาคเนย์ประกันชีวิต
• อุปนายกกรรมการอาคเนย์ประกันชีวิต
• อุปนายกกรรมการธนาคารไทยธนาคาร
• รองประธานกรรมการธนาคารไทยธนาคาร
• ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์
• ประธานกรรมการการ์ตูนเน็ตเวิร์ค ประเทศไทย
• ประธานกิตติมศักดิ์ผู้ทรงเกียรติ หอการค้าไทย-จีน
• ประธานกรรมการเกียรติคุณโรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ
• ประธานกิตติมศักดิ์สมาคมแต้จิ๋วแห่งประเทศไทย

บทความแนะนำ